วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

IPv6

       IPv6 คือ กลไกสำคัญในการทำงานของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล (Internet อินเทอร์เน็ตส่วนประกอบสำคัญของอินเทอร์เน็ตโพรโตคอล ได้แก่ หมายเลขอินเทอร์เน็ตแอดเดรส หรือ ไอพีแอดเดรส (IP address) ที่ใช้ในการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆบนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก เปรียบเสมือนการใช้งานโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกัน จะต้องมีเลขหมายเบอร์โทรศัพท์ เพื่อให้อ้างอิงผู้รับสายได้ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตก็ต้องมีหมายเลข IP Address ที่ไม่ซ้ำกับใคร

      หมายเลข IP address ที่เราใช้กันทุกวันนี้ คือ Internet Protocol version 4 (IPv4) ซึ่งเราใช้เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปีค.ศ. 1981 ทั้งนี้การขยายตัวของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว นักวิจัยเริ่มพบว่าจำนวนหมายเลข IP address ของ IPv4 กำลังจะถูกใช้หมดไป ไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคต และ หากเกิดขึ้นก็หมายความว่าเราจะไม่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้น คณะทำงาน IETF (The Internet Engineering Task Force) ซึ่งตระหนักถึงปัญหาสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นใหม่ขึ้น คือ รุ่นที่หก(Internet Protocol version 6; IPv6) เพื่อทดแทนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ IPv6 เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของตัวโพรโตคอล ให้รองรับหมายเลขแอดเดรสจำนวนมาก และปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆ อีกหลายประการ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความปลอดภัยรองรับระบบแอพพลิเคชั่น (application) ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลแพ็กเก็ต (packet) ให้ดีขึ้น ทำให้สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในอนาคตได้เป็นอย่างดี

    หมายเลข IPv6 มี 128 บิต ประกอบไปด้วย กลุ่มตัวเลข 8 กลุ่มเขียนขั้นด้วยเครื่องหมาย “:” โดยแต่ละกลุ่มคือเลขฐาน 16 จำนวน 4 ตัว (16 บิต) เช่น
3fee:085b:1f1f:0000:0000:0000:00a9:1234
0000:0000:0000:0000:0000:0000:0000:0001
fec0:0000:0000:0000:0200:3cff:fec6:172e
2001:0000:0000:34fe:0000:0000:00ff:0321

 ทั้งนี้สามารถเขียนย่อได้ โดยมีเงื่อนไขคือ
1. หากมีเลขศูนย์ด้านหน้าของกลุ่มใด สามารถจะละไว้ได้
2. หากกลุ่มใดเป็นเลขศูนย์ทั้ง 4 ตัว (0000) สามารถเขียนแทนด้วย “0”
3. หากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (หรือหลายกลุ่มที่ตำแหน่งติดกัน) เป็นเลขศูนย์ทั้งหมด สามารถจะละไว้ได้ โดยใช้เครื่องหมาย “::” แต่จะสามารถทำลักษณะนี้ได้ในตำแหน่งเดียวเท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
หากใช้สองเงื่อนไขแรก เราสามารถเขียนหมายเลข IPv6 ข้างต้นได้ดังนี้
3fee:085b:1f1f:0:0:0:a9:1234
0:0:0:0:0:0:0:1
fec0:0:0:0:200:3cff:fec6:172e
2001:0:0:34fe:0:0:ff:321

หากใช้เงื่อนไขที่สาม เราสามารถเขียนหมายเลข IPv6 ข้างต้นได้ดังนี้
3fee:085b:1f1f::a9:1234
::1
fec0::200:3cff:fec6:172e
2001::34fe:0:0:ff:321

 จะเห็นได้ว่าเราสามารถเขียนหมายเลข IPv6 ได้หลายวิธี โดยแต่ละวิธี มีความยาวแตกต่างกันไป ซึ่งบางครั้งหมายเลข IPv6 อาจมีหมายเลข IPv4 แทรกอยู่ ในกรณีนี้ เราสามารถเขียนในลักษณะที่คงสภาพหมายเลข IPv4 อยู่ได้ เช่น
0:0:0:0:0:0:192.168.1.1
0:0:0:0:0:ffff:192.168.1.1

สามารถเขียนย่อได้เป็น
::192.168.1.1
::ffff:192.168.1.1

    ตัวเลข /48 หรือ /64 ที่อยู่หลังหมายเลข IPv6 นั้นหมายถึงความยาวในหน่วยบิตของหมายเลข prefix หมายเลข prefix มีไว้เพื่อระบุหมายเลขของเครือข่าย หาก prefix มี 64 บิต แปลว่าที่เหลืออีก 64 บิต (128-64 = 64) เป็นหมายเลขที่ระบุอุปกรณ์แต่ละตัวในเครือข่ายนั้น (interface ID) ตัวอย่างเช่น
fec0:103:fe6d:1000::1/64 มี prefix คือ fec0:103:fe6d:1000:: และ interface ID คือ 1
fec0:103:fe6d:1000::2/64 มี prefix คือ fec0:103:fe6d:1000:: และ interface ID คือ 2
(แปลว่าอยู่ภายใต้เครือข่ายเดียวกับอุปกรณ์ตัวแรก)
fec0:103:fe6d:2000::1/48 มี prefix คือ fec0:103:fe6d:: และ interface ID คือ 2000::1
โดยทั่วไปหมายเลขชุด IPv6 ที่ได้รับแบ่งสรรจาก ISP มักจะมี prefix 48 บิต ส่วนที่เหลืออีก 80 บิต มักถูกแบ่งออกเป็นหมายเลข subnet (subnet ID) 16 บิต และหมายเลขอุปกรณ์ (interface ID) 64 บิต ตัวอย่างเช่น 2001:260:20:1000::/64 และ 2001:260:20:2000::/64 อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน (เพราะมีเลข 48 บิตแรกเหมือนกัน2001:260:20::) แต่ต่าง subnet (subnet1000 และ subnet 2000)

prefix
subnet ID
interface ID


*****แหล่งอ้างอิง*****
- http://www.ipv6.nectec.or.th/faq.php
    

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

ผู้บริหารยุคใหม่ เข้าใจ ทันภัย กฏหมายไอที


เมื่อวันที่ 15 กัยยายน พ.ศ. 2557   ได้มีการจัดโครงการ สัมมนา เรื่อง ผู้บริหารยุคใหม่ เข้าใจ ทันภัย กฏหมายไอที   ได้รับความรู้เกี่ยวกับกฏหมายไอทีต่าง ๆ รวมถึงการใช้คอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องตามกฏหมาย ให้ความสำคัญกับกฏหมายของไอที และโทษต่าง ๆของการใช้ไอทีที่ผิดไป   ได้รู้ว่าหน่วยงานใดเกี่ยวข้องกับกฏหมายไอที  และกฏหมายไอทีมีกี่ฉบับ  และรวมถึงการป้องกันภัยจากกฏหมายไอที   การใช้ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  และการติดตั้งสิ่งต่าง ๆ ลงบนคอมพิวเตอร์  และการใช้งานโปรแกรมที่ไม่ถูกต้อง  หน่วยงานที่ของกฏหมายไอทีจะสามารถตรวจสอบข้อมูลการใช้งานในอินเตอร์เน็ตได้

มาตรฐานของ Wireless LAN


 Wireless LAN บนมาตรฐาน IEEE 802.11 หรือ WiFi
       IEEE 802.11 เป็นมาตรฐานเครือข่ายไร้สาย Wireless LAN ซึ่งมีหลายเวอร์ชั่น ในที่นี้จะกล่าวถึงมาตรฐานต่างๆที่สำคัญของ Wireless LAN
 IEEE 802.11a
        เป็นมาตรฐานที่เริ่มนำมาใช้ในปี ค.. 1999 ซึ่งใช้เทคนิคการส่งข้อมูลแบบ OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing) ที่สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุด 54 Mbps โดยใช้คลื่นวิทยุที่ความถี่ 5 GHz ซึ่งเป็นความถี่สาธารณะสำหรับใช้งานในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เป็นความถี่ที่ไม่ได้รับอนุญาติให้ใช้งานได้อย่างอิสระภายในประเทศไทย เนื่องจากเป็นความถี่สำหรับกิจการทางด้านดาวเทียม ข้อเสียของ IEEE 802.11a คือ อุปกรณ์มีราคาแพง และรัศมีการใช้งานแคบ คือ ประมาณ50 เมตรเท่านั้น จึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก
 IEE 802.11b
         เป็นมาตรฐานที่เริ่มนำมาใช้ในปี ค.. 1999 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยใช้เทคนิคการแบ่งข้อมูลแบบ DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) ที่สามารถรับและส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราความเร็วสูงสุด 11 Mbps และใช้คลื่นวิทยุที่ความถี่ 2.4 GHz ซึ่งเป็นความถี่ที่มีการใช้งานในหลายเทคโนโลยี เช่น Bluetooth, โทรศัพท์เคลื่อนที่ และเตาไมโครเวฟ ทำให้การใช้งานมักพบปัญหาในเรื่องของสัญญาณรบกวนค่อนข้างมาก แต่มีข้อดีกว่ามาตรฐาน IEEE 802.11a คือมีรัศมีในการส่งข้อมูลประมาณ 100 เมตร
 IEEE802.11g
         เป็นมาตรฐานที่เริ่มนำมาใช้ในปี ค.. 2003 ซึ่งเข้ามาทดแทนมาตรฐาน IEEE 802.11b โดยใช้เทคนิคการส่งข้อมูลแบบ DSSS บนคลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz และสามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วสูงสุด 54 Mbps ซึ่งเป็นอัตราเร็วในการส่งข้อมูลที่สูงกว่ามาตรฐาน IEEE 802.11b โดยมีรัศมีในการส่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 100 เมตร ซึ่งกว้างกว่ามาตรฐาน IEEE 802.11a ทำให้ได้รับความนิยมและมีการใช้งานมาถึงปัจจุบัน

 IEEE 802.11n

         เป็นมาตรฐานที่เริ่มพัฒนาในปี ค.. 2004 ซึ่งพัฒนาเพิ่มเติมจากมาตรฐาน IEEE 802.11a/b/g ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน โดยใช้คลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz และ 5 GHz ซึ่งมีความเร็วสูงสุดถึง 600 Mbpsการพัฒนา IEEE 802.11n ขึ้นมาเพื่อต้องการให้มีรัศมีการส่งข้อมูลครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้น และเพิ่มอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงกว่ามาตรฐานแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
*****แหล่งอ้างอิง*****
http://comscisp.blogspot.com/2012/02/wireless-lan-ieee-80211-wifi.html

สถาปัตยกรรมของระบบเครือข่าย


สถาปัตยกรรมของระบบเครือข่าย (Network Architecture) หรือโทโปโลยี (Topology)  คือ ลักษณะทาง กายภาพ (ภายนอก) ของเครือข่าย  ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการ ออกแบบ พิจารณาเครือข่ายให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยีของเครือข่ายหลักๆ มีดังต่อไปนี้
 1. โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology)
         เป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลักษณะการทำงานของเครือข่าย โทโปโลยีแบบบัส คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า"บัส" (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าบัสว่างหรือไม่ ถ้าหากไม่ว่างก็ไม่สามารถจะส่งข้อมูลออกไปได้ ทั้งนี้เพราะสายสื่อสารหลักมีเพียงสายเดียว ในกรณีที่มีข้อมูลวิ่งมาในบัส ข้อมูลนี้จะวิ่งผ่านโหนดต่างๆ ไปเรื่อยๆ ในขณะที่แต่ละโหนดจะคอยตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านมาว่าเป็นของตนเองหรือไม่ หากไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้ข้อมูลวิ่งผ่านไป แต่หากเลขที่อยู่ปลายทาง ซึ่งกำกับมากับข้อมูลตรงกับเลขที่อยู่ของของตน โหนดนั้นก็จะรับข้อมูลเข้าไป



รูปที่ 1 โทโปโลยีแบบบัส


         ข้อดีข้อเสียของโทโปโลยีแบบบัส
    ข้อดี

1. ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่ายในการติดตั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา
2. สามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในเครือข่ายได้ง่าย
    ข้อเสีย
1. ในกรณีที่เกิดการเสียหายของสายส่งข้อมูลหลัก จะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
2. การตรวจสอบข้อผิดพลาดทำได้ยาก ต้องทำจากหลาย ๆจุด
 2. โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)
     เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารจะถูกส่งจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง วนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน (ในระบบเครือข่ายรูปวงแหวนบางระบบสามารถส่งข้อมูลได้สองทิศทาง) ในแต่ละโหนดหรือสถานี จะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการ สื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล สำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้นส่งต่อไปให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป


รูปที่ 2 โทโปโลยีรูปวงแหวน

        ข้อดีข้อเสียของโทโปโลยีรูปวงแหวน
    ข้อดี

1. การส่งข้อมูลสามารถส่งไปยังผู้รับหลาย ๆ โหนดพร้อมกันได้ โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลง ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล รีพีตเตอร์ของแต่ละโหนดจะตรวจสอบเองว่ามีข้อมูลส่งมาให้ที่โหนดตนเองหรือไม่
2. การส่งข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณข้อมูล
    ข้อเสีย
1. ถ้ามีโหนดใดโหนดหนึ่งเกิดเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังโหนดต่อไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้ง เครือข่ายขาดการติดต่อสื่อสาร
2. เมื่อโหนดหนึ่งต้องการส่งข้อมูล โหนดอื่น ๆ ต้องมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้เสียเวลา

 3. โทโปโลยีรูปดาว (Star Topology)
     เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายรูปดาว หลายแฉก โดยมีสถานีกลาง หรือฮับ เป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย สถานีกลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด นอกจากนี้สถานีกลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลายทางอีกด้วย การสื่อสารภายใน เครือข่ายแบบดาว จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบดาว เป็นโทโปโลยีอีกแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน


รูปที่ 3 โทโปโลยีแบบดาว

      ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแบบดาว
    ข้อดี
1. การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย 
2. หากมีโหนดใดเกิดความเสียหายก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และเนื่องจากใช้อุปกรณ์ 1 ตัวต่อสายส่งข้อมูล 1 เส้น ทำให้การเสียหายของอุปกรณ์ใดในระบบไม่กระทบต่อการทำงานของจุดอื่นๆ ในระบบ 
3. ง่ายในการให้บริการเพราะโทโปโลยีแบบดาวมีศูนย์กลางทำหน้าที่ควบคุม
    ข้อเสีย
1. ถ้าสถานีกลางเกิดเสียขึ้นมาจะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
2. ต้องใช้สายส่งข้อมูลจำนวนมากกว่าโทโปโลยีแบบบัส และ แบบวงแหวน
 4. โทโปโลยีแบบผสม (Hybridge Topology)
     เป็นเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลแบบผสมระหว่างเครือข่ายแบบใดแบบหนึ่งหรือมากกว่า เพื่อความถูกต้องแน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการและภาพรวมขององค์กร


รูปที่ 4 โทโปโลยีแบบผสม

*****แหล่งอ้างอิง*****
http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Networks%20Technology/network5.htm

วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เทคนิคการทำงานของระบบปฏิบัติการ Windows 7 ในลักษณะของ Tips and Techniques

วิธีเชื่อมต่อ Connect Projector บน Windows 7

วิธีที่ 1. กดปุ่มฟังก์ชั่นคีย์ ซึ่งแต่ละรุ่น ยี่ห้อจะไม่เหมือนกัน เช่น
  •    Dell, Epson ให้กดปุ่ม Fn+F8
  •    Panasonic, NEC  ให้กดปุ่ม Fn+F3
  •    HP, Sharp, Toshiba  ให้กดปุ่ม Fn+F5
  •    Fujitsu  ให้กดปุ่ม Fn+F10
  •    IBM,Sony  ให้กดปุ่ม Fn+F17
  •    Apple  ให้กดปุ่ม F7


วิธีที่ 2.  ให้คลิกขวาที่หน้าจอ Desktop > Screen resolution ดังรูป


จากนั้นจะปรากฏหน้าจอ Screen resolution ขึ้นมา ดังรูป


ต่อมาให้เลือกเมนู Connect to a Projector   ลูกศรชี้ หรือกดปุ่ม Windows+P บนคีย์บอร์ด ดังรูป ข้างต้นจะปรากฏหน้าจอตัวเลือกขึ้นมาให้เลือกเชื่อมต่อ Projector ดังรูป


ให้คลิกเลือก Duplicate  ดังรูปข้างต้น จากนั้นหน้าจอเครื่องคอมพิวเตอร์/โน๊ตบุ๊ค ก็จะแสดงผลไปที่ Projector
*****แหล่งอ้างอิง*****
- http://windows-tech-tips.blogspot.com/2014/01/connect-projector-windows-7.html

วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ยุคของคอมพิวเตอร์

           คอมพิวเตอร์เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว   จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง


***  ยุคของคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็น 5 ยุค  ***

    
*  ยุคที่หนึ่ง (First Generation Computer) พ.ศ. 2488-2501
           อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)


  มาร์ค วัน (MARK I)   



                         อีนิแอค (ENIAC)                        
             

ยูนิแวค (UNIVAC)


       ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
- ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง
-  ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น
-  เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน


*  ยุคที่สอง (Second Generation Computer) พ.ศ. 2502-2507
            อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2507 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ (Transister) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และใช้วงแหวนแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่ายุคแรก ราคาถูกลง ต้นทุนต่ำกว่าใช้กระแสไฟฟ้าน้อย มีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า  นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง

คอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2

       ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
- ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
- เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core)
- มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)
- สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
- เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้


* ยุคที่สาม (Third Generation Computer) พ.ศ. 2507-2513
           อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2513 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือเรียกว่าวงจรไอซี ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำที่บรรจุวงจรทางตรรกะไว้ แล้วพิมพ์บนแผ่นซิลิคอน(Silicon) เรียกว่า ชิป ซึ่งสามารถทำงานได้เท่ากับทรานซิสเตอร์หลายร้อยตัว เครื่องคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลง ความเร็วเพิ่มขึ้นและใช้กำลังไฟน้อย

ไอซี (IC)

       ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
- ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
- ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า)
- ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป


ยุคที่สี่ (Fourth Generation Computer) พ.ศ. 2513-2523
           อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2514 ถึง พ.ศ. 2523 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจร LSI (Large Scale Integration) เป็นการรวมวงจรไอซีจำนวนมากลงในแผ่นซิลิคอนชิป 1 แผ่น สามารถบรรจุได้มากกว่า 1 ล้านวงจร ขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นแบบตั้งโต๊ะ หรือพกพาได้ ทำงานเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น


คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

         ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
- ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
- มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)


* ยุคที่ห้า (Fifth Generation Computer) พ.ศ. 2524 - ปัจจุบัน
             อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2524-ปัจจุบัน เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจร VLSI (Very Large Scale Integration) เป็นการพัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้เพื่อช่วยในการจัดการ การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา โดยจะมีการเก็บข้อมูลไว้ เมื่อต้องการใช้งานก็สามารถเรียกข้อมูลที่เก็บไว้มาใช้ในการทำงานได้ ขนาดเครื่องมีแนวโน้มเล็กลง และมีความเร็วสูงขึ้น เช่น  โน๊ตบุ๊ค

โน๊ตบุ๊ค

*****  แหล่งอ้างอิง  *****
- http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/menu2.htm
- http://www.oknation.net/blog/patumnafang/2012/08/27/entry-1

บุคคลสำคัญในประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์




Charles Babbage



ประวัติ :   เป็นนักคณิตศาสตร์ นักปรัชญาวิเคราะห์ และเป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เป็นคนแรกที่มีแนวคิดเรื่องเครื่องคำนวณที่สามารถสร้างโปรแกรมหรือสั่งให้ทำงานได้ ในปี 1822 ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ทำการออกแบบเครื่องคำนวณหาผลต่าง( Difference Engine ) โดยได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาล แต่เครื่องคำนวณหาผลต่าง สร้างไม่เสร็จ เพราะได้ค้นพบความไม่น่าเชื่อถือบางอย่างในการคำนวณ จึงล้มเลิก และไปคิดเครื่องใหม่ที่ชื่อว่า เครื่องวิเคราะห์ ( Analytical Engine ) ซึ่งประกอบด้วยหน่วยความจำ (Memory Unit) ที่สามารถจัดเก็บตัวเลขและนำไปคำนวณได้ เครื่องดังกล่าวยังสามารถพิมพ์ข้อมูลได้อัตโนมัติ สามารถนำเข้าข้อมูลด้วยบัตรเจาะรู (Punched Cards) และใช้ชุดคำสั่งในการควบคุม เครื่องวิเคราะห์ นี้ยังมีฟังก์ชั่นหน้าที่หลายอย่างเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน ทำให้ ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ถูกขนานนามให้เป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์

ผลงาน :   เครื่องคำนวณหาผลต่าง( Difference Engine ) และ เครื่องวิเคราะห์ ( Analytical Engine )



Lady Augusta Ada Byron




ประวัติ :  เป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก เป็นบุตรสาวของ ลอร์ด ไบรอน (Lord Byron) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) หลังจากเธอเกิดไม่นาน พ่อแม่ของเธอก็แยกทางกัน แม่ของเอดา จึงตัดสินใจเลี้ยงดูเธอให้เป็นผู้หญิงสมัยใหม่ และให้ศึกษาด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ต่างไปจากกุลสตรีในตระกูลใหญ่ๆ พออายุ 17 ปี เอดาได้ไปงานเลี้ยงที่บ้านของ Mrs. Somerville จนได้พบกับ Charles Babbage (บิดาของคอมพิวเตอร์) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคณิตศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับอย่างสูง เอดาได้สนใจในแนวคิดของ Babbage จนอาสา เป็นผู้ช่วยงานและพัฒนา โดยสิ่งที่เธอทำคือการคิดสร้างภาษา(Progrmming)สำหรับเครื่อง Analytical Engine จากนั้นก็พัฒนาและคิดค้นแนวคิดต่างๆมาเรื่อยๆ ต่อมาไม่นานสุขภาพของเธอก็เริ่มมีปัญหาและก็เสียชีวิตด้วยวัยเพียง 37 ปีเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯก็ได้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์มาตรฐาน ISO ขึ้นมาตัวแรก และได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ Ada Lovelace ว่า ภาษา “ADA”

ผลงาน :  แนวความคิดการเขียนโปรแกรมเรื่องการโปรแกรมแบบวนซ้ำ (loop) และการใช้โปรแกรมย่อย (subroutine)



Herman Hollerith




ประวัติ :   ปี ค.ศ.1860-1929 (พ.ศ.2403-2470) นักประดิษฐ์คิดค้นชาว อเมริกันชื่อ ดร.เฮอร์แมน ฮอลร์เลอริธ (Dr.Herman Hollerith) ได้ประดิษฐ์ เครื่องประมวลผลทางสถิติ ที่สามารถใช้กับบัตร เจาะรู ได้ เรียกว่า Tabulating Machine ซึ่งต่อมาในภายหลัง ดร.เฮอร์แมน ฮอลร์เลอริธ ได้พัฒนาบัตรเจาะรูที่เป็นรหัส แบบอยู่ ภายนอกเครื่อง คำนวณซึ่ง เรียกบัตรนี้ว่า "บัตรฮอลเลอริธ" (Hollerith Card) ถือเป็นต้นแบบใน การพัฒนามาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ในยุคต่อมา

ผลงาน :   บัตรเจาะรูและเครื่องอ่านบัตร



Alan Turing




ประวัติ :   เป็นชาวอังกฤษ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) ที่ลอนดอน เป็นนักคณิตศาสตร์, นักตรรกศาสตร์, นักรหัสวิทยา และวีรบุรุษสงคราม ชาวอังกฤษ และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นนักคณิตศาสตร์ที่รัฐบาลอังกฤษเรียกไปไขความลับระดับชาติ กับพยายามถอดรหัสของเครื่อง Enigma ซึ่งเป็นรหัสลับที่นาซีใช้ติดต่อสื่อสารในช่วงสงคราม และออกแบบเครื่องมือแกะรหัสนาซี ส่งไปที่ U-Boat ในแอตแลนติกเหนือ

ผลงาน :   ทฤษฎีความสามารถคำนวณใต้ของคอมพิวเตอร์ (Computability) , การทดสอบความฉลาดของคอมพิวเตอร์ (Turing Test ) , เครื่องจักรทัวริง (Universal Turing Maching )



Konrad Zuse




ประวัติ :   ค.ศ. 1936 Konrad Zuse พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถตั้งโปรแกรมได้อย่างอิสระ ชื่อคอมพิวเตอร์คือ Z1 Computer

ผลงาน :   สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ไบนารีที่เขาได้ออกแบบทฤษฎีสำหรับภาษาโปรแกรมชั้นสูง ชื่อว่า Plankalkul




Prof. Howard H. Aiken




ประวัติ :   1937 : โฮเวิร์ด เอช ไอเคน (Professor Howard H. Aiken) ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard) เป็นผู้ออกแบบและสร้างเครื่องคำนวณตามหลักการของแบบเบจได้สำเร็จ โดยนำเอาแนวคิดของ Jacquard และ Hollerith มาใช้ในการสร้างและได้รับการสนับสนุนจากวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็ม สร้างสำเร็จในปี ค.ศ. 1943 ในชื่อว่า Automatic Sequence Controlled Calculator (ASCC) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า MARK I Computer นับเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลกที่ทำงานโดยอัตโนมัติทั้งเครื่อง จัดเป็น Digital Computer และเป็นเครื่องที่ทำงานแบบ Electromechanical คือเป็นแบบ กึ่งไฟฟ้ากึ่งจักรกล

ผลงาน :   ออกแบบและสร้างเครื่องคำนวณ Automatic Sequence Controlled Calculator (ASCC) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า MARK I Computer



Dr. John V. Atanasoff & Clifford Berry





ประวัติ :   ปี ค.ศ. 1937 ดร. จอห์น วี. อทานาซอฟฟ์ (John V Atanasoff) และ คลิฟฟอร์ด เบอรรี่ (Clifford Berry)ได้ออกแบบและสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรก เครื่องนี้มีชื่อว่า คอมพิวเตอร์อทานาซอฟฟ์-เบอร์รี่ (Atanasoff-Berry-Computer) หรือเครื่อง ABC นั่นเอง ซึ่งเครื่อง ABC นี้ได้เตรียมพื้นฐานสำหรับคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์รุ่นหลัง ๆ

ผลงาน :   ออกแบบและสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์อทานาซอฟฟ์-เบอร์รี่ (Atanasoff-Berry-Computer) หรือเครื่อง ABC



Dr. John W. Mauchly & J. Presper Eckert




ประวัติ :       ดร. จอห์น ดับบลิว เมาชลี (John W. Mauchly) และ เจ. เพรสเพอร์ เอคเคิร์ต(J. Presper Eckert )ได้ร่วมมือกันสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่เครื่องแรก เป็นคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานทั่วไป เครื่องนี้มีชื่อว่า อินิแอค (ENIAC: Electronic Numerical Integrator and Computer) เครื่องนี้หนัก 30 ตัน ประกอบด้วยหลอดสุญญากาศ 18,000 หลอด กินพื้นที่ถึง 30x50 ช่วงก้าว ใช้กำลังไฟฟ้าถึง 160 กิโลวัตต์ ตอนเครื่อง อินิแอคถูกเปิดทำงานครั้งแรกนั้น หลอดไฟฟ้าถึงกับหรี่สลัวทั่วเมืองฟิลาเดลเฟีย ที่ซึ่งเครื่องนี้ถูกสร้าง

ผลงาน :   คอมพิวเตอร์อินิแอค ENIAC



Dr. John Von Neumann




ประวัติ :      จอห์น วอน นอยแมน (John von Neumann) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการี มีผลงานสำคัญในหลายสาขา ทั้ง ควอนตัมฟิสิกส์, ทฤษฎีเซ็ต, วิทยาการคอมพิวเตอร์, เศรษฐศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1911 ก็เข้าเรียนที่ Lutheran Gymnasium พอปี ค.ศ. 1913 คุณพ่อของเขาได้รับตำแหน่ง (ยศ) เขาจึงได้รับชื่อเยอรมัน von จึงใช้ชื่อเต็มเป็น Janos von Neumann ระหว่างปี ค.ศ. 1926 ถึง 1930 เขาทำงานเป็นอาจารย์อิสระ อยู่ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี

ผลงาน :   สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ แบบนอยแมน



Dr. Ted Hoff




ประวัติ :  ดร. เท็ด ฮอฟฟ์ (Ted Hoff) แห่งบริษัทอินเทล (Intel Corporation) ได้พัฒนาชิพที่มีขนาดเล็กมาก จึงได้ชื่อว่าไมโครโพรเซสเซอร์ ชื่อรุ่นคือ Intel 4004 เป็นหน่วยประมวลผลขนาดเล็กที่สามารถโปรแกรมได้ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ชิพขนาดเล็กนี้เจึงถูกรียกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย

ผลงาน :   พัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์



Steve Jobs & Steve Wozniak




ประวัติ :   สตีฟเวน พอล จ๊อบส์ (Steven Paul Jobs) เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง (ร่วมกับ Steve Wozniak) บริษัทแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer) เขาเป็นหัวหน้าบริษัท Pixar เป็นบริษัทสร้างภาพการ์ตูนเคลื่อนไหว แต่สิ่งสำคัญต่อวงการคอมพิวเตอร์ที่เขาได้บุกเบิกคือการสร้างคอมพิวเตอร์แอบเปิ้ล 2 (Apple II) เขาได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของการสั่งงานคอมพิวเตอร์ผ่านทางภาพ หรือ GUI (graphic user interface)ด้วยการใช้เมาส์ ซึ่งได้มีการใช้ครั้งแรกที่บริษัท Xerox PARC

ผลงาน :  ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์


ประวัติ :   สตีเฟน วอซนิแอค (Stephen Wozniak) เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ ซึ่งผลิตคอมพิวเตอร์ยี่ห้อแอปเปิ้ล เขาได้รับสมญานามว่าเป็นผู้ริเริ่มการสร้างคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล จนกระทั่งมาพบกับสตีฟ จ๊อบส์ (Steve Jobs) และมีความเห็นตรงกันคือสร้างคอมพิวเตอร์ขายในราคาไม่แพงคงจะประสบความสำเร็จ เขาเปิดที่โรงรถที่บ้านของจ๊อบเป็นที่ออกแบบและสร้างคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแม่แบบขึ้นมา และก่อตั้งบริษัทชื่อแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ขึ้นในปี 1976

ผลงาน :   คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (personal computer : PC)



Bill Gates




ประวัติ :   บิล เกตส์ (Bill Gates) เกิดเมื่อปี 1955 ที่เมืองซีแอทเทิล กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัทผลิตซอฟต์แวร์ที่ครองตลาดผู้ใช้มากที่สุดคือบริษัทไมโครซอฟต์ และเป็นหนึ่งบุคคลที่รวยที่สุดในโลก ปัจจุบันเขาเป็นหัวหน้าบริษัท ซึ่งเขาได้ร่วมกับพอล อัลเลน (Paul Allen) ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟต์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1974 ด้วยวัยเพียง 19 ปี แต่พอล อัลเลนได้ออกไปทำธุรกิจของตนเองเมื่อปี 1983 การประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่ของบริษัทไมโครซอฟต์ มาจากการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลายและบริษัทได้ผลิตซอฟต์แวร์เพื่ออำนวยความสะดวกการใช้งานไมโครคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ (ดังชื่อบริษัท "Microsoft" มาจากคำว่า "microcomputer" + "software") เช่น ระบบปฏิบัติการ MS-DOS และ Windows รุ่นต่าง ๆ โปรแกรมเว็บราวเซอร์ IE (Internet Explorer) ภาษาเบสิก รวมถึงภาษา VB (Visual Basic) และอื่น ๆ อีกมากมาย

ผลงาน :  ภาษาเบสิก ระบบปฏิบัติการดอส (DOS) ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows)


***** แหล่งอ้างอิง *****

http://www.atom.rmutphysics.com/charud/scibook/computer/evolution/pioneers.htm