วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

IPv6

       IPv6 คือ กลไกสำคัญในการทำงานของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล (Internet อินเทอร์เน็ตส่วนประกอบสำคัญของอินเทอร์เน็ตโพรโตคอล ได้แก่ หมายเลขอินเทอร์เน็ตแอดเดรส หรือ ไอพีแอดเดรส (IP address) ที่ใช้ในการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆบนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก เปรียบเสมือนการใช้งานโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกัน จะต้องมีเลขหมายเบอร์โทรศัพท์ เพื่อให้อ้างอิงผู้รับสายได้ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตก็ต้องมีหมายเลข IP Address ที่ไม่ซ้ำกับใคร

      หมายเลข IP address ที่เราใช้กันทุกวันนี้ คือ Internet Protocol version 4 (IPv4) ซึ่งเราใช้เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปีค.ศ. 1981 ทั้งนี้การขยายตัวของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว นักวิจัยเริ่มพบว่าจำนวนหมายเลข IP address ของ IPv4 กำลังจะถูกใช้หมดไป ไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคต และ หากเกิดขึ้นก็หมายความว่าเราจะไม่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้น คณะทำงาน IETF (The Internet Engineering Task Force) ซึ่งตระหนักถึงปัญหาสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นใหม่ขึ้น คือ รุ่นที่หก(Internet Protocol version 6; IPv6) เพื่อทดแทนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ IPv6 เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของตัวโพรโตคอล ให้รองรับหมายเลขแอดเดรสจำนวนมาก และปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆ อีกหลายประการ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความปลอดภัยรองรับระบบแอพพลิเคชั่น (application) ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลแพ็กเก็ต (packet) ให้ดีขึ้น ทำให้สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในอนาคตได้เป็นอย่างดี

    หมายเลข IPv6 มี 128 บิต ประกอบไปด้วย กลุ่มตัวเลข 8 กลุ่มเขียนขั้นด้วยเครื่องหมาย “:” โดยแต่ละกลุ่มคือเลขฐาน 16 จำนวน 4 ตัว (16 บิต) เช่น
3fee:085b:1f1f:0000:0000:0000:00a9:1234
0000:0000:0000:0000:0000:0000:0000:0001
fec0:0000:0000:0000:0200:3cff:fec6:172e
2001:0000:0000:34fe:0000:0000:00ff:0321

 ทั้งนี้สามารถเขียนย่อได้ โดยมีเงื่อนไขคือ
1. หากมีเลขศูนย์ด้านหน้าของกลุ่มใด สามารถจะละไว้ได้
2. หากกลุ่มใดเป็นเลขศูนย์ทั้ง 4 ตัว (0000) สามารถเขียนแทนด้วย “0”
3. หากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (หรือหลายกลุ่มที่ตำแหน่งติดกัน) เป็นเลขศูนย์ทั้งหมด สามารถจะละไว้ได้ โดยใช้เครื่องหมาย “::” แต่จะสามารถทำลักษณะนี้ได้ในตำแหน่งเดียวเท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
หากใช้สองเงื่อนไขแรก เราสามารถเขียนหมายเลข IPv6 ข้างต้นได้ดังนี้
3fee:085b:1f1f:0:0:0:a9:1234
0:0:0:0:0:0:0:1
fec0:0:0:0:200:3cff:fec6:172e
2001:0:0:34fe:0:0:ff:321

หากใช้เงื่อนไขที่สาม เราสามารถเขียนหมายเลข IPv6 ข้างต้นได้ดังนี้
3fee:085b:1f1f::a9:1234
::1
fec0::200:3cff:fec6:172e
2001::34fe:0:0:ff:321

 จะเห็นได้ว่าเราสามารถเขียนหมายเลข IPv6 ได้หลายวิธี โดยแต่ละวิธี มีความยาวแตกต่างกันไป ซึ่งบางครั้งหมายเลข IPv6 อาจมีหมายเลข IPv4 แทรกอยู่ ในกรณีนี้ เราสามารถเขียนในลักษณะที่คงสภาพหมายเลข IPv4 อยู่ได้ เช่น
0:0:0:0:0:0:192.168.1.1
0:0:0:0:0:ffff:192.168.1.1

สามารถเขียนย่อได้เป็น
::192.168.1.1
::ffff:192.168.1.1

    ตัวเลข /48 หรือ /64 ที่อยู่หลังหมายเลข IPv6 นั้นหมายถึงความยาวในหน่วยบิตของหมายเลข prefix หมายเลข prefix มีไว้เพื่อระบุหมายเลขของเครือข่าย หาก prefix มี 64 บิต แปลว่าที่เหลืออีก 64 บิต (128-64 = 64) เป็นหมายเลขที่ระบุอุปกรณ์แต่ละตัวในเครือข่ายนั้น (interface ID) ตัวอย่างเช่น
fec0:103:fe6d:1000::1/64 มี prefix คือ fec0:103:fe6d:1000:: และ interface ID คือ 1
fec0:103:fe6d:1000::2/64 มี prefix คือ fec0:103:fe6d:1000:: และ interface ID คือ 2
(แปลว่าอยู่ภายใต้เครือข่ายเดียวกับอุปกรณ์ตัวแรก)
fec0:103:fe6d:2000::1/48 มี prefix คือ fec0:103:fe6d:: และ interface ID คือ 2000::1
โดยทั่วไปหมายเลขชุด IPv6 ที่ได้รับแบ่งสรรจาก ISP มักจะมี prefix 48 บิต ส่วนที่เหลืออีก 80 บิต มักถูกแบ่งออกเป็นหมายเลข subnet (subnet ID) 16 บิต และหมายเลขอุปกรณ์ (interface ID) 64 บิต ตัวอย่างเช่น 2001:260:20:1000::/64 และ 2001:260:20:2000::/64 อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน (เพราะมีเลข 48 บิตแรกเหมือนกัน2001:260:20::) แต่ต่าง subnet (subnet1000 และ subnet 2000)

prefix
subnet ID
interface ID


*****แหล่งอ้างอิง*****
- http://www.ipv6.nectec.or.th/faq.php
    

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

ผู้บริหารยุคใหม่ เข้าใจ ทันภัย กฏหมายไอที


เมื่อวันที่ 15 กัยยายน พ.ศ. 2557   ได้มีการจัดโครงการ สัมมนา เรื่อง ผู้บริหารยุคใหม่ เข้าใจ ทันภัย กฏหมายไอที   ได้รับความรู้เกี่ยวกับกฏหมายไอทีต่าง ๆ รวมถึงการใช้คอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องตามกฏหมาย ให้ความสำคัญกับกฏหมายของไอที และโทษต่าง ๆของการใช้ไอทีที่ผิดไป   ได้รู้ว่าหน่วยงานใดเกี่ยวข้องกับกฏหมายไอที  และกฏหมายไอทีมีกี่ฉบับ  และรวมถึงการป้องกันภัยจากกฏหมายไอที   การใช้ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  และการติดตั้งสิ่งต่าง ๆ ลงบนคอมพิวเตอร์  และการใช้งานโปรแกรมที่ไม่ถูกต้อง  หน่วยงานที่ของกฏหมายไอทีจะสามารถตรวจสอบข้อมูลการใช้งานในอินเตอร์เน็ตได้

มาตรฐานของ Wireless LAN


 Wireless LAN บนมาตรฐาน IEEE 802.11 หรือ WiFi
       IEEE 802.11 เป็นมาตรฐานเครือข่ายไร้สาย Wireless LAN ซึ่งมีหลายเวอร์ชั่น ในที่นี้จะกล่าวถึงมาตรฐานต่างๆที่สำคัญของ Wireless LAN
 IEEE 802.11a
        เป็นมาตรฐานที่เริ่มนำมาใช้ในปี ค.. 1999 ซึ่งใช้เทคนิคการส่งข้อมูลแบบ OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing) ที่สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุด 54 Mbps โดยใช้คลื่นวิทยุที่ความถี่ 5 GHz ซึ่งเป็นความถี่สาธารณะสำหรับใช้งานในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เป็นความถี่ที่ไม่ได้รับอนุญาติให้ใช้งานได้อย่างอิสระภายในประเทศไทย เนื่องจากเป็นความถี่สำหรับกิจการทางด้านดาวเทียม ข้อเสียของ IEEE 802.11a คือ อุปกรณ์มีราคาแพง และรัศมีการใช้งานแคบ คือ ประมาณ50 เมตรเท่านั้น จึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก
 IEE 802.11b
         เป็นมาตรฐานที่เริ่มนำมาใช้ในปี ค.. 1999 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยใช้เทคนิคการแบ่งข้อมูลแบบ DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) ที่สามารถรับและส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราความเร็วสูงสุด 11 Mbps และใช้คลื่นวิทยุที่ความถี่ 2.4 GHz ซึ่งเป็นความถี่ที่มีการใช้งานในหลายเทคโนโลยี เช่น Bluetooth, โทรศัพท์เคลื่อนที่ และเตาไมโครเวฟ ทำให้การใช้งานมักพบปัญหาในเรื่องของสัญญาณรบกวนค่อนข้างมาก แต่มีข้อดีกว่ามาตรฐาน IEEE 802.11a คือมีรัศมีในการส่งข้อมูลประมาณ 100 เมตร
 IEEE802.11g
         เป็นมาตรฐานที่เริ่มนำมาใช้ในปี ค.. 2003 ซึ่งเข้ามาทดแทนมาตรฐาน IEEE 802.11b โดยใช้เทคนิคการส่งข้อมูลแบบ DSSS บนคลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz และสามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วสูงสุด 54 Mbps ซึ่งเป็นอัตราเร็วในการส่งข้อมูลที่สูงกว่ามาตรฐาน IEEE 802.11b โดยมีรัศมีในการส่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 100 เมตร ซึ่งกว้างกว่ามาตรฐาน IEEE 802.11a ทำให้ได้รับความนิยมและมีการใช้งานมาถึงปัจจุบัน

 IEEE 802.11n

         เป็นมาตรฐานที่เริ่มพัฒนาในปี ค.. 2004 ซึ่งพัฒนาเพิ่มเติมจากมาตรฐาน IEEE 802.11a/b/g ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน โดยใช้คลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz และ 5 GHz ซึ่งมีความเร็วสูงสุดถึง 600 Mbpsการพัฒนา IEEE 802.11n ขึ้นมาเพื่อต้องการให้มีรัศมีการส่งข้อมูลครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้น และเพิ่มอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงกว่ามาตรฐานแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
*****แหล่งอ้างอิง*****
http://comscisp.blogspot.com/2012/02/wireless-lan-ieee-80211-wifi.html

สถาปัตยกรรมของระบบเครือข่าย


สถาปัตยกรรมของระบบเครือข่าย (Network Architecture) หรือโทโปโลยี (Topology)  คือ ลักษณะทาง กายภาพ (ภายนอก) ของเครือข่าย  ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการ ออกแบบ พิจารณาเครือข่ายให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยีของเครือข่ายหลักๆ มีดังต่อไปนี้
 1. โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology)
         เป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลักษณะการทำงานของเครือข่าย โทโปโลยีแบบบัส คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า"บัส" (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าบัสว่างหรือไม่ ถ้าหากไม่ว่างก็ไม่สามารถจะส่งข้อมูลออกไปได้ ทั้งนี้เพราะสายสื่อสารหลักมีเพียงสายเดียว ในกรณีที่มีข้อมูลวิ่งมาในบัส ข้อมูลนี้จะวิ่งผ่านโหนดต่างๆ ไปเรื่อยๆ ในขณะที่แต่ละโหนดจะคอยตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านมาว่าเป็นของตนเองหรือไม่ หากไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้ข้อมูลวิ่งผ่านไป แต่หากเลขที่อยู่ปลายทาง ซึ่งกำกับมากับข้อมูลตรงกับเลขที่อยู่ของของตน โหนดนั้นก็จะรับข้อมูลเข้าไป



รูปที่ 1 โทโปโลยีแบบบัส


         ข้อดีข้อเสียของโทโปโลยีแบบบัส
    ข้อดี

1. ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่ายในการติดตั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา
2. สามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในเครือข่ายได้ง่าย
    ข้อเสีย
1. ในกรณีที่เกิดการเสียหายของสายส่งข้อมูลหลัก จะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
2. การตรวจสอบข้อผิดพลาดทำได้ยาก ต้องทำจากหลาย ๆจุด
 2. โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)
     เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารจะถูกส่งจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง วนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน (ในระบบเครือข่ายรูปวงแหวนบางระบบสามารถส่งข้อมูลได้สองทิศทาง) ในแต่ละโหนดหรือสถานี จะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการ สื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล สำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้นส่งต่อไปให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป


รูปที่ 2 โทโปโลยีรูปวงแหวน

        ข้อดีข้อเสียของโทโปโลยีรูปวงแหวน
    ข้อดี

1. การส่งข้อมูลสามารถส่งไปยังผู้รับหลาย ๆ โหนดพร้อมกันได้ โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลง ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล รีพีตเตอร์ของแต่ละโหนดจะตรวจสอบเองว่ามีข้อมูลส่งมาให้ที่โหนดตนเองหรือไม่
2. การส่งข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณข้อมูล
    ข้อเสีย
1. ถ้ามีโหนดใดโหนดหนึ่งเกิดเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังโหนดต่อไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้ง เครือข่ายขาดการติดต่อสื่อสาร
2. เมื่อโหนดหนึ่งต้องการส่งข้อมูล โหนดอื่น ๆ ต้องมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้เสียเวลา

 3. โทโปโลยีรูปดาว (Star Topology)
     เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายรูปดาว หลายแฉก โดยมีสถานีกลาง หรือฮับ เป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย สถานีกลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด นอกจากนี้สถานีกลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลายทางอีกด้วย การสื่อสารภายใน เครือข่ายแบบดาว จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบดาว เป็นโทโปโลยีอีกแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน


รูปที่ 3 โทโปโลยีแบบดาว

      ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแบบดาว
    ข้อดี
1. การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย 
2. หากมีโหนดใดเกิดความเสียหายก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และเนื่องจากใช้อุปกรณ์ 1 ตัวต่อสายส่งข้อมูล 1 เส้น ทำให้การเสียหายของอุปกรณ์ใดในระบบไม่กระทบต่อการทำงานของจุดอื่นๆ ในระบบ 
3. ง่ายในการให้บริการเพราะโทโปโลยีแบบดาวมีศูนย์กลางทำหน้าที่ควบคุม
    ข้อเสีย
1. ถ้าสถานีกลางเกิดเสียขึ้นมาจะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
2. ต้องใช้สายส่งข้อมูลจำนวนมากกว่าโทโปโลยีแบบบัส และ แบบวงแหวน
 4. โทโปโลยีแบบผสม (Hybridge Topology)
     เป็นเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลแบบผสมระหว่างเครือข่ายแบบใดแบบหนึ่งหรือมากกว่า เพื่อความถูกต้องแน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการและภาพรวมขององค์กร


รูปที่ 4 โทโปโลยีแบบผสม

*****แหล่งอ้างอิง*****
http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Networks%20Technology/network5.htm